วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาศิลปหัตถกรรมการแกะรูปหนังตะลุง



แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟู พัฒนาศิลปหัตถกรรมการแกะรูปหนังตะลุง
1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการแกะหนังตะลุงอย่างเป็นระบบ เช่นจัดทำเป็นคู่มือการแกะรูปหนังตะลุง เพื่อใช้เป็นข้อมูลและหลักฐานในการศึกษาและพัฒนาภูมิปัญญาต่อไป โดยบูรณาการทำงานร่วมกันกับ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
2. การอนุรักษ์ ควรมุ่งส่งเสริมโดยการปลุกจิตสำนึกคนในท้องถิ่นโดยเฉพาะเยาวชนให้ตะหนักถึงคุณค่าและแก่นสาระ และความสำคัญของภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุง ส่งเสริม สนับสนุนและสืบทอดการนำภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุงและการเล่นหนังตะลุงซึ่งควบคู่กันมายาวนาน เช่น การประกวดแกะรูปหนังตะลุง การประกวดการแสดงหนังตะลุงนักเรียน หนังตะลุงทอล์กโชว์สร้างจิตสำนึกของความเป็นท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น ร่วมกันสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น สร้างพิพิธภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอขึ้นเพื่อรวบรวมผ้าลายต่างๆของท้องถิ่นทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งความภาคภูมิใจของชุมชน เป็นต้น
3. การฟื้นฟู โดยการสำรวจช่างแกะรูปหนังตะลุงในท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหายหรือไม่มีการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้มาเพื่อส่งเสริมหรือฝึกอบรมให้มีการแกะรูปหนังตะลุงขึ้นมาใหม่หรือนำมาบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำคู่มือการแกะรูปหนังตะลุง เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป โดยร่วมมือกับสถานศึกษา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดที่มีภูมิปัญญาด้านนี้อยู่
4. การพัฒนา ควรริเริมสร้างสรรค์ภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุง ให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐาน และส่งเสริมให้การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับสถานศึกษา หน่วยงาน องค์กรภาครัฐเอกชน
5. การถ่ายทอด
การถ่ายทอดความรู้ศิลปหัตถกรรมการแกะรูปหนังตะลุง เป็นการถ่ายทอดจากรู่นสู่รุ่น โดยเริ่มต้นจาการถ่ายทอดแก่บุคคลในครอบครัว และถ่ายทอดสู่เยาวชนและประชาชน ตลอดจนผู้สนใจ
6. การส่งเสริมกิจกรรมและการเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านการแกะรูปหนังตะลุงและการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาการทำศิลปหัตถกรรมการแกะรูปหนังตะลุง เช่น การศึกษาดูงาน การเยี่ยมชม กลุ่มแกะหนังตะลุงภายในจังหวัดและต่างจังหวัดเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และแนวคิดจากภายนอกเพื่อนำมาปรับใช้เพื่อความยั่งยืนต่อไป

7. การยกย่องและเสริมสร้างปราชญ์ด้านการการแกะรูปหนังตะลุง โดยการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ปราชญ์ท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจและกำลังใจในการดำเนินการด้านภูมิปัญญา รวมทั้งสร้างสรรค์ผลงานด้วยความเต็มใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น